Fuel Trims หมายถึงอะไร

What are fuel trims?

Fuel Trims หมายถึงอะไร

Fuel Trims

โดยพื้นฐาน Fuel Trims คือเปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของน้ำมันเชื้อเพลิง ในขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน อัตราส่วนอากาศต่อน้ำมันจำเป็นที่จะต้องอยู่ในภายในขอบเขตค่าที่กำหนด คือ 14.7.1

AFR ค่านี้จะยังต้องคงอยู่ในขอบเขตภายใต้สภาวะที่หลากหลายหลากหลายที่เปลี่ยนแปลงของเครื่องยนต์ในทุกๆวัน เช่น การสตาร์ทเครื่องยนต์ในขณะที่ยังเย็นอยู่ การจอดนิ่งเมื่อรถติด การวิ่งแช่ยาวๆ บนถนนมอเตอร์เวย์ ดังนั้น ระบบสมองกลของเครื่องยนต์ ECU พยายามที่จะรักษาระดับของ AFR ให้เหมาะสมโดยการ ปรับเปลี่ยนค่าปริมาณของ น้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งให้เครื่องยนต์ โดยการเพิ่มหรือตัดการจ่าย อ๊อกซิเจนเซ็นเซอร์ หรือ O2 Sensor ทำหน้าที่ตรวจวัดปริมาณของ อ๊อกซิเจนในอเสีย ที่หลงเหลือจากการเผาไหม้และส่งค่าตอบไปยัง ECU รถ

O2 Senser  อ๊อกซิเจนเซ็นเซอร์ เปรียบได้กับ ตา ของ ECU ที่จะมองส่วนผสมของ อ๊อกซิเจน O2 ในไอเสีย ECU ตรวจสอบค่าเหล่านี้จากการป้อนข้อมูลมาจาก heated oxygen sensor(s)  อย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา เมื่อ รถยนต์ทำงานอยู่ในสภาวะ closedloop.

ถ้า O2 เซนเซอร์แจ้งให้ ECU รู้ว่า ค่าส่วนผสมในไอเสีย อยู่ใน สภาวะ Lean บาง  ECU จะทำการชดเชยโดยเพิ่ม น้ำมันโดยการเพิ่มระยะเวลาของสัญญาณเปิดหัวฉีด หรือในทันทีทันใด

หาก O2 เซนเซอร์อ่านค่าให้ ECU ว่าส่วนผสมมีค่าหนา rich ECU  จะทำการลดระยะเวลาการเปิดสัญญาณหัวฉีด โดยลดการจ่ายน้ำมัน เพื่ชดเชดตามลำดับเพื่อลดค่า ที่หนาให้ต่ำลง

การเปลี่ยนแปลงในการเพิ่มหรือลดการจ่ายน้ำมันนี้เรียกว่า Fuel Trim โดยเทียบกับ ค่ากลาง

อ๊อกซิเจนเซนเซอร์เป็นตัวขับให้ Fuel Trim  การเปลี่ยนแปลงของ O2 เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการชดเชยปริมาณของ Fuel Trim

Fuel Trims 1

The short term fuel trim (STFT) การชดเชย ปริมาณน้ำมันระยะสั้น คือ การเปลี่ยนแปลงส่วนผสมของน้ำมันที่เกิดขึ้นหลายๆครั้งในหนึ่งวินาที ส่วน The long term fuel trims (LTFT)  คือ ค่าเฉลี่ยของ (STFT) ในระยะยาว ค่าติดลบที่แสดงหมายถึง การลดปริมาณเชื้อเพลง ส่วนค่า บวก หมายถึง การจ่ายเพิ่มของปริมาณเชื้อเพลิง

 

ยกตัวอย่างง่ายๆ เปรียบเทียบดู เช่น ในขณะที่เราขับรถจากชายหาดที่ระดับน้ำทะเลไปบนเขา

ในระยะสั้น  shortterm

เราจะต้องขับรถขึ้นและลงหลายร้อยเมตรต่อครั้ง บนพื้นที่เป็นภูเขา

ในระยะยาว longterm

เช่นเรากำลังขับรถไต่ระดับความสูง จากต่ำไปสูงหลายกิโลเมตร

STFT จะทำงานในลักษณะควบคุมการจ่ายน้ำมันขึ้นและลงอย่างรวดเร็ว  ในขณะที่

LTFT จะใช้ระยะเวลายาวนานในเปลี่ยนแปลง

 

ค่าที่อ่านจาก STFT ปกติโดยทั่วไปมีความผันผวน ขึ้น ลง ระหว่างบวกและลบเป็น ตัวเลขหลักเดียว 2-3 ครั้งต่อวินาที ค่าปกติจะคงอยู่อยู่ที่บวกและลบ 5 %  แต่ในบางครั้งจะขึ้นไปเกิน  8 – 9 % ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพขงเครื่องยนต์ อายุของชิ้นส่วน และปัจจุยอื่นๆ

โดยปกติ long term fuel trim LTFT จะอ่านค่าออกมาคล้ายๆกัน แต่เป็นค่าเฉลี่ยๆในระยะยาว  และ ค่าจะใกล้กลับ 0 เป็นค่า บวก หรือลบ ภายใต้สภาวะแวดล้อมปกติ และจะมีความผันผวนอย่างช้ามาก หรือ เป็นไปได้อาจ มีค่าคงที่

หากคุณเคยพบว่า ค่าของ Fuel Trim มีค่า มากถึง เลขสองหลัก ทั้ง บวก และ ลบ เช่น +15 ถึง – 15  อาจเป็นไปได้ว่า ระบบการจ่ายเชื้อเพลิงมีความผิดปกติ  อาจเพราะหัวฉีดรั่ว การรั่วของอากาศ หรือสาเหตุอื่นคล้ายๆกันนี้

LeanSTF

ตัวอย่างเช่น เมื่อ O2 เซ็นเซอร์ อ่านค่าเป็น ส่วนผสมบาง Lean  เนื่องมาจาก ท่อ แวคคั่มรั่ว ECU รถจะชดเชยโดยการจ่าย น้ำมันเพิ่ม

STFT จะเริ่มการจ่ายน้ำมันเพิ่มเพื่อตอบสนองคำสั่ง ECU และ ในขณะ ECU เพิ่มการจ่ายน้ำมัน จะยังตรวจสอบค่า จาก O2 เซ็นเซอร์ จนกว่า ที่แสดงผลว่า ส่วนผสมบาง Lean หายไปแล้ว และ ค่าก AFR เป็นปกติ

ECU จะยังคงรักษาระดับการเพิ่มขึ้นของน้ำมัน จนกว่าการรั่วจะถูกแก้ไข เครื่องมือตรวจสอบ จะแสดงให้เห็นว่า ค่า STFT นั้นจะเป็นค่าบวกสองต่ำแหน่ง การแสดงผลให้เห็นว่า ECU ได้เพิ่มการจ่ายน้ำมันจำนวนมากเกินกว่าการทำงานปกติ  จากนั้นตามมาด้วยค่า LTFT จะได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของการชดเชยน้ำมัน ในตอนนีหาก ท่อแวคคั่มที่รั่วนั้นรุนแรงเพียงพอ ECU จะไม่สามารถ เพิ่มการชดเชยปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงให้เพียงพอที่จะทำให้ ค่า AFR กลับมาเป็นปกติ  ECU จะเพิ่มการชดเชยจนกระทั่ง STFT ถึงค่าสูงสุดที่ระบบปรับตั้งไว้ โดยปกติคือ 25 %  จากนั้น ECU จะแสดง Error Code ที่ถูกกำหนดไว้ เพื่อถูกตรวจพบ Lean หรือสภาวะ เชื้อเพลิงบาง ( P0172 หรือ P0174 )  และเมื่อ STFT มีค่าสูงสุด ในทางตรงข้าม เมื่อ เกิดสภาวะ ส่วนผสม หนา Rich จากเชื่อเพลิงรั่ว ( P0172 หรือ  P0175 )

จำไว้เสมอว่า ECU จะไม่รับรู้ ถ้า O2 เซ็นเซอร์อ่านค่ามาเป็นปกติในบางกรณี

RichSTF

 

หาก O2 เซ็นเซอร์อ่านค่าส่วนผสมหนา ECU จะต้องคาดการณ์ว่า ในขณะนั้นเป็นค่าที่ถูกต้องและเริ่มการลดการชดเชยปริมาณเชื้อเพลิง  กรณีนี้จะถูกเรียกว่า น้ำมันหนา  ECU จะพยายามทำให้เครื่องยนต์จ่ายน้ำมันบางลง และอาจแสดง Engine Code P0172, P0175 Code นีจะแสดง เมื่อตอนเครื่องยนต์ได้ทำงานในสภาวะ Rich แต่ ความจริงแล้ว กำลังทำงาน Lean

หากเรา วินิจฉัย อาการโดยดูแค่ ค่า Rich โดยไม่สังเกตุ ค่าของ fuel trim ทั้งหมดและ ค่า O2 เซนเซอร์  อาจทำให้ วินิจฉัย อาการผิดพลาดไม่ถูกต้องได้

ดังนั้น ทุกๆ ระบบ bank จะมีการอ่าน ค่าน้ำมัน fuel trim

หาก เครื่องยนต์ มี 4 สูบ จะมี เพียง หนึ่ง bank  คือ Bank 1

ในเครื่องยนต์  V (V6 ) สามารถแยกเป็น bank  1 และ Bank 2 ได้

การทำงานบนสภาวะ bank’s fuel trims

หาก หนึ่ง bank ทำงานเป็นปกติ และ อีก หนึ่ง bank ทำงานผิดปกติ  เราจำกัดส่วน bank ของระบบที่ผิดปกติจาก ด้านของ engine ได้

การติด Oil Cooler ของเกียร์ CVT ตามระบบที่ถูกต้องจาก OEM

รถยนต์ Lancer  EX ทั้ง รุ่น 1.8 และ 2.0 มักนิยม ถูกนำไปติดออยเกียร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายความร้อน
มีการ ดัดแปลง ต่อ อแดปเตอร์ ออกจากตัวถังน้ำมัน เพื่อเดินท่อ มายัง ตัว Oil Cooler .
แต่มีใครรู้ไหมว่า Lancer EX ในต่างประเทศ ในรุ่น เครื่องยนต์ 2.4 ลิตรนั้น ตัวรถ ได้มีการ ติดตั้ง Oil Gear Cooler เพิ่มเติม จากรุ่น อื่น

จากรูป ด้านล่าง แสดงให้เห็นอุปกรณ์ระบาย ความร้อนของเกียร์ CVT ของ รุ่น 1.8 และ 2.0 ในบ้านเรา จะพบว่า  ตัวระบายความร้อน มีขนาเล็ก และ อาศัยน้ำจากหม้อน้ำมาระบายความร้อน โดยภายใน  กระบอกมีท่อน้ำมันไหลมาหมุนเวียนเพียงเล็กน้อย ทำให้ประสิทธิภาพการระบายความร้อนต่ำ และพบปัญหา คามร้อนเกิน กับผู็ใช้รถที่ ตีนหนัก

oilgear1

 

คราวนี้ เรามาดู ว่า อุปกรณ์ ระบาย ความร้อน จากโรงงาน ต่างกับ ที่เราติดเพิ่มอย่างไร โดยดูจากรูป ด้านล่าง
จะพบว่า อุปกรณืระบาย ความร้อนจากโรงงาน จะมีท่อ ทางเข้า และ ออก ของน้ำมันเกียร์ เพิ่มมาจาก อุปกรณ์ของรุ่นทั่วไป เพือ่ต่อไปยัง Oil Cooler อีกชุด ด้านหน้าเครื่อง คือ Oil Cooler จะมีสองชุดครับ

oilgear3

คราวนี้ ลองกลับมาเช็ค ดู ว่า ระบบ ท่อทางเดินน้ำมัน ที่ เราติดตั้งเพิ่มเข้าไปนั้น แตกต่างกับ ของโรงงานหรือไม่

อีกรูป ตัวอย่างคือ รูปแบบการติดออยเกียร์

oilqqqq

แต่ที่แน่ๆ คือ Lancer EX ของประเทศไทย ไม่มี ท่อทางออกของน้ำมันมาให้ แล้ว เวลาเราไปติด เรา ใช้ ท่อน้ำมันจากจุดไหน ???

ข้อควรระวัง

หากเราติดตั้ง Oil gear : ที่ถอด ของเดิมออก แล้วแทนด้วยอากาศ

ให้ลองเช็คประสิทธิภาพ การทำงานเมื่อ รถติดในเมือง เพราะ หากเราถอด การระบายด้วยน้ำจากหม้อน้ำออกไปแล้ว หากเราติดออยเกียร์ ไว้ในจุดที่ไม่มีพัดลม เมื่อรถวิ่งด้วยความเร็วต่ำ หรือ ประสิทธิภาพการระบายความร้อนจะลดลง และ หากไม่ได้ติดตั้ง ไว้ในจุดที่มีพัดลมระบายอากาศ อาจทำให้ความร้อนขึ้นสูงได้ เพราะ ออยเกียร์ อาศัย ลมจากการขับ หรือ ลมจากพัดลมหม้อน้ำ

 

 

 

ตรวจสอบ ระบบของรถ Lancer EX 1.8

ขอเสนอ วิธีการ ตรวจเช็คระบบ เครื่องยนต์ของ Lancer EX 1.8 ดังนี้ครับ
จากรูปด้านล่างเป็น การตรวจสอบ ระบบรถ โดยใช้โปรแกรม Torque Pro เชื่อมต่อกับ พอร์ต OBD2
Misfire : เป็นการเช็คระบบ การทำงานของเครื่องยนต์ เบนซิน ทุกคันต้องขึ้น Complet
Fuel System:เป็นการเช็คระบบ การทำงานของ ECU ว่าสามารถ ควบคุมส่วนผสม AFR จากการอ่านค่า O2 ได้หรือไม่ รถทุกคัน ต้อง ขึ้น Complete
Components: เป็นการตรวจสอบความสมบูรณ์โดยรวมของส่วนประกอบ
Catalyst: เป็นการตรวจสอบการทำงานของ แคท โดย เช็คค่า O2 ก่อนและหลังแคท
O2 Sensor: ยืนยันการทำงานของวัดค่าการเผาไหม้ของ O2 Sensor  ได้ปกติ
O2 Sensor Heater:  เป็นการยืนยันการทำงานของ O2 Sensor ที่ต้องการอุณหภูมิสูงจึงจพทำงาน

Ethanol % : เป็น Function พิเศษ สำหรับรถ Lancer EX 1.8 FFV ที่สามารถ รับรู้ค่า ปริมาณเอทานอล จากนั้นนำค่าเหล่านี้ไปคำนวณส่วนผสม เพื่อสั่งงาน ECU อีกที

โดยปกติเมื่อเราติด เครื่องยนต์ตใหม่ๆ อุณหภูมิเครื่องยังเย็นอยู่ O2 Sensor ยังไม่ทำงานที่อุณหภูมิต่ำ

Catalyt และ O2 Sensor จะขึ้น Incomplete และ เมื่อ เครื่องยนต์ทำงานจนร้อน ทำให้ O2 Sensor ทำงาน
ทั้งสองค่านี้ จะเปลี่ยน เป็น Complete

EX 1.8 ECU เป็น FFV โดยสมบูรณ์  ECU ถูกสร้างมาเป็น FFV เช่นเดียวกับ รถยนต์ค่ายอื่นๆ ที่เป็น FFV ที่มีขายต่างประเทศ ที่ใช้ Software  อ่านค่าปริมาณ เอทานอล ด้วย ECU เช่นเดียวกัน ทำให้ ROM ของ EX 1.8 ไม่เหมือน ROM ของ Lancer ต่างประเทศที่ไม่ใช่ FFV ทำให้ REMAP ได้ยาก หรือ ไม่ได้ เลย

ECU 1.8 กับ 2.0 ต่างโปรแกรม ใช้ทับกันไม่ได้  ถึง Flash ไปทับได้แต่ก็ทำให้ระบบรถไม่สมบูรณ์

 

OBD systems

 

การจูนรถ วัดค่า AFR จาก Sensor ที่ปลายท่อ

การ จูนแล้ว ติด  AFR gauge วัดค่า ส่วนผสมที่ปลายท่ไอเสียเป็น วิธีพื้นฐานของ จูนเนอร์มืออาชีพหลายๆท่านครับ แต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้ค่า ที่อ่านมา ที่ปลายท่อไอเสีย นั้นเป็น ค่าที่ถูกต้อง

ถามว่า จำเป็นไหม สำหรับการ จูน  แล้ววัด AFR ที่ปลายท่อ ในความเห็นผมคือ ขึ้นอยู่กับ จูนเนอร์ท่านนั้น  เพราะ การวัด ที่ตำแหน่งนั้น เค้าเอาไว้วัดมลพิษ ออกจากท่อไอเสีย เพราะ หาก จะวัด AFR กันจริงๆ ให้แม่นยำ ต้องไป วัดออกจากห้องเผาไหม้ คือ ตำแหน่งเดียวกับ  Front  O2 หรือ ที่ใน Catalytic เลย

โดย สรุป การจูนรถ แล้ว วัด AFR ที่ปลายท่อ ก็ยังดีกว่า จูนแล้วไม่วัดอะไรเลยครับ

สำหรับ การ Remap นั่น อาศัย ECU  เป็นตัวควบคุมค่า AFR อยู่แล้ว อีกทั้ง ตัวรถเอง มีระบบ O2 หรือ ตรวจสอบ Close Loop หาก ECU รถพบว่ามีส่วนผสมผิดปกติ โดยการวัดจาก  Narrow Band O2  ที่ฝั่ง Header ไอเสีย ก็จะ สามารถฟ้อง Engine Alarm ขึ้นมาเองครับ

จากรูป ด้านล่างคือ ระบบ ควบคุมส่วนผสมของ ECU โดยอาศัย O2 narrow band ส่งสัญญาณกลับไปให้ ECU รับรู้ว่า ในขณะนั้น ส่วน ผสม บาง หรือ หนา ไป

front-o2-sensor-diagram

และ สิ่งที่ สำคัญที่สุดสำหรับ การจูน รถบ้านนะครับ

คือ ระบบ Close Loop และ Front O2 Sensor ต้องยังคงอยู่ ห้ามปิดตัวนี้หรือ Inactive ครับ เพราะ หากปิดไป ECU รถจะไม่รับรู้ว่ารถ ของท่าน จ่ายส่วนผสมผิดปกติหรือไม่ สุดท้ายเป็นที่มาต่อความเสียหายของเครื่องยนต์